วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2561

14.การจัดการเรียนรู้แบบ SSCS


นรมน ดีหล้า (2555). ได้กล่าวว่า การสอนโดยใช้รูปแบบ SSCS (Pizzini, Shaparson & Abell, 1989. pp. 523 - 543) เป็นวิธีสอนอย่างหนึ่งที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยครูเป็นเพียงผู้นาเสนอปัญหาและเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนคิดค้นคว้าด้วยตนเอง มี 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 Search:S เป็นขั้นตอนการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และการแยกประเด็นของปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 Solve:S เป็นขั้นตอนในการวางแผนและการดาเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 Create:C เป็นขั้นของการนาผลที่ได้มาจัดกระทาเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและเพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้
ขั้นตอนที่ 4 Share:S เป็นขั้นของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ไขปัญหา
จะเห็นได้ว่าวิธีการสอนแบบ SSCS มีแนวคิดที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
มาตรา 22 ที่ให้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสาคัญ และเนื่องจากวิธีการสอนแบบ SSCS เป็นวิธีสอนที่เน้นทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์จัดเป็นเป้าหมายสูงสุดของการสอนคณิตศาสตร์ (ชมนาด สืบศรี, 2533: 30) ดังนั้นการจัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอนแบบ SSCS จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการสอนการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์



ญานิศา ศรีโชติ (2555). ได้กล่าวว่า วิธีการสอนแบบ  SSCS  พบว่าเป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยครูเป็นเพียงผู้นำเสนอปัญหาและเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนคิดค้นคว้าด้วยตนเอง  มี  4  ขั้นตอน  ดังนี้ 
ขั้นที่  1  Search : S  เป็นขั้นตอนการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา  และการแยกประเด็นของปัญหา 
ขั้นที่  2  Solve : S  เป็นขั้นตอนในการวางแผนและการดำเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ 
ขั้นที่  3  Create : C  เป็นขั้นตอนการนำผลที่ได้มาจัดกระทำเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและเพื่อการสื่อสารกับคนอื่นได้ 
ขั้นที่  4  Share : S  เป็นขั้นตอนของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ไขปัญหา


ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2550). ได้กล่าวว่า การสอนแบบ SSCS
SSCS เป็นรูปแบบการสอนที่ใช้พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาของนักเรียน ซึ่งเป็นทักษะที่ฝึกให้นักเรียนได้รู้จักกระบวนการคิดหาเหตุผลในการแสวงหาคาตอบของปัญหาที่เกิดขึ้น เป็นรูปแบบการสอนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาโดย พิซซินี่เชปพาร์คสัน และอาเบล ซึ่ง พิซซินี่ และคณะได้กาหนดขั้นตอนของการสอนแบบ SSCS เป็น 4 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ (Pizzini ,1989, pp.530-532 อ้างถึงใน ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, 2550, หน้า 261)
ขั้นที่ 1 Search : S หมายถึง การค้นหาข้อมูลที้เกี่ยวข้องกับปัญหา และการแยกแยะประเด็นของปัญหา การแสวงหาข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับปัญหา ซึ่งประกอบด้วยการระดมสมอง ทาให้เกิดการแยกแยะปัญหาต่างๆ ช่วยนักเรียนในด้านการมองเห็นความสัมพันธ์ของมโนมติต่างๆ ที่มีอยู่ในปัญหานั้น นักเรียนจะต้องอธิบาย และให้ขอบเขตของปัญหา ด้วยคาอธิบายจากความเข้าใจของนักเรียนเอง ซึ่งจะต้องตรงกับจุดมุ่งหมายของบทเรียนที่ตั้งไว้ ในขั้นตอนนี้นักเรียนจะต้องหาข้อมูลของปัญหาเพิ่มเติม โดยอาจหาได้ จากที่นักเรียนตั้งคาถามถามครู หรือเพื่อนนักเรียนเอง การอ่านบทความในวารสารหรือหนังสือพิมพ์ การสารวจ และได้มาจากงานวิจัยหรือตามตาราต่างๆ
ขั้นที่ 2 Solve : S หมายถึง การวางแผนและการดาเนินการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการต่างๆ หรือการหาคาตอบของปัญหาที่เราต้องการ ในขั้นนี้นักเรียนต้องวางแผนในการแก้ปัญหา ขณะที่นักเรียนดาเนินการแก้ไขปัญหา ถ้าพบปัญหาอีกสามารถกลับไปขั้นที่ 1 ได้ หรือนักเรียนอาจปรับปรุงแผนของตนที่วางไว้โดยการประยุกต์เอาวิธีการต่างๆ มาใช้
ขั้นที่ 3 Create : C หมายถึง การนาผลที่ได้มาจัดกระทาเป็นขั้นตอนเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ และเพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้ การนาเอาข้อมูลที่ได้จากการแก้ปัญหา หรือตอบคาตอบที่ได้มาจัดกระทาให้อยู่ในรูปของคาตอบสามารถอธิบายเข้าใจได้ง่าย โดยอาจทาได้โดยการใช้ภาษาที่ง่ายสละสลวยมาขยายความหรือตัดตอนคาตอบที่ได้ให้อยู่ในรูปคาตอบที่สามารถอธิบายหรือสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย
ขั้นตอนที่ 4 Share : S หมายถึง การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและ
วิธีการแก้ปัญหา การที่ให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคาตอบที่ได้ทั้งของตนเองและผู้อื่น โดยคาตอบที่เกิดขึ้นอาจได้รับการยอมรับหรือไม่ยอมรับก็ได้ คาตอบที่รับการยอมรับนั้นก็อาจทาให้เกิดปัญหาใหม่ก็ได้ ส่วนคาตอบที่ไม่ได้รับการยอมรับนั้นก็อาจทาให้เกิดปัญหาได้เมื่อพบว่า มีเหตุผลที่ผิดพลาดในการวางแก้ไขปัญหาของนักเรียน โดยที่คนอื่นช่วยประเมินให้



สรุป
วิธีการสอนแบบ  SSCS  พบว่าเป็นวิธีการสอนที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดอย่างมีเหตุผลมุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง  โดยครูเป็นเพียงผู้นำเสนอปัญหาและเป็นผู้กระตุ้นให้นักเรียนคิดค้นคว้าด้วยตนเอง  มี  4  ขั้นตอน  ดังนี้ 
ขั้นตอนที่ 1 Search:S เป็นขั้นตอนการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปัญหา และการแยกประเด็นของปัญหา
ขั้นตอนที่ 2 Solve:S เป็นขั้นตอนในการวางแผนและการดาเนินการแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ
ขั้นตอนที่ 3 Create:C เป็นขั้นของการนาผลที่ได้มาจัดกระทาเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและเพื่อสื่อสารกับคนอื่นได้
ขั้นตอนที่ 4 Share:S เป็นขั้นของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและวิธีการแก้ไขปัญหา


ที่มา
นรมน ดีหล้า.(2555).https://noramon991.files.wordpress.com/2013/10/.[ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561
ญานิศา ศรีโชติ.(2555).http://sompby.blogspot.com/2012/05/blog-post_4659.html. [ออนไลน์]เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2561
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(2550). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ:แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น